6194 จำนวนผู้เข้าชม |
ตอนที่ NAD เปิดตัวปรีแอมป์ ระดับพรีเมี่ยมอย่าง C658 เราค่อนข้างสนใจ และอยากทดลองฟัง แต่ยังไม่มีพาวเวอร์แอมป์ที่อยู่ในเลเวลเดียวกันเพื่อจับคู่ หลังจากนั้นไม่นาน C298 ก็เปิดตัวตามมา
NAD C298 เป็นพาวเวอร์แอมป์ที่การออกแบบพูดได้เต็มปากว่าเป็นแบบคลาสสิก ตัวเครื่องสีดำด้าน มีปุ่มเปิด-ปิดเพียงปุ่มเดียวและไฟ LED ที่ด้านหน้า โดยที่ไฟ LED จะไม่สว่างขึ้นตอนเปิดเครื่อง แต่จะแสดงสถานะเมื่อเข้าสู่โหมดบริดจ์เท่านั้น
ด้านหลังคุณจะพบอินพุตบาลานซ์ XLR และช่อง RCA รวมถึง Volume control นอกจากนี้ยังมีชุดของไลน์เอาท์พุตที่สามารถใช้ส่งสัญญาณไปยังเพาเวอร์แอมป์ตัวอื่นได้
สิ่งที่น่าสนใจคือ ภายในเครื่องเป็นโมดูลแอมป์คลาส D ที่ใช้ภาคขยายแบบ Eigentakt ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับ NAD M33 ซึ่งเราได้ให้รางวัล Best Recommendations. ไป โดยโมดูล Eigentakt นี้ได้ถูกพัฒนาโดย Danish Purifi ที่มีผู้บุกเบิกวงการเครื่องเสียงอย่าง Peter Lyngdorf เป็นผู้ก่อตั้งอยู่ด้วย จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้คือให้ความเพี้ยนหรือความบิดเบือนที่ต่ำมากๆ โดยไม่เกี่ยงความถี่ กำลัง และค่าโหลด
สเป็คของเครื่อง
NAD C298 ให้กำลังขับ 180 วัตส์/ช่อง ที่ 8 โอห์ม และ 360 วัตต์/ช่องที่ 4 โอห์ม และทะยานไปที่ 620 วัตต์ที่ 8 โอห์ม ทันทีเมื่อทำการบริดจ์โมโน ซึ่งในรุ่น M33 จะแตกต่างที่มีกำลังขับเยอะกว่า
คุณภาพเสียง
จากการทดลองฟัง ต้องบอกว่า C298 ให้เสียงเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง เสียงเต็มอิ่ม ถอด คาแรคเตอร์มาจาก M33 เลยก็ว่าได้ น้ำเสียงที่ทรงพลัง หนักแน่นนั้น ทำให้ C298 ฟังแล้วสนุกสนาน
ผมมักจะใช้ Sinead O'Connors เวอร์ชั่นแคปเปลล่า ของ I am Stretched On Your Grave ในการทดสอบ แต่ rhythm-backing เวอร์ชั่นจาก I Do Not Want What I Haven't Got มีจังหวะที่สนุกกว่า และมีกำลังขับมากกว่า
C298 ถ่ายทอดน้ำเสียงออกมาได้ดี จนเราต้องคว้า The Sound of Silence ที่คัฟเวอร์โดย Disturbed เพื่อสัมผัสประสบการณ์ เราได้รายละเอียดครบถ้วนในทุกเลเยอร์ในแทร็กเสียงร้อง และ Headroom มากมายในวงออเคสตราในตอนท้าย แอมพลิฟายเออร์หลายๆสูญเสียภาพรวมและความละเอียดในแทร็กนั้น แต่ไม่ใช่กับ C298
การควบคุมลำโพงนั้นก็ดี C298 ไม่มีขาดตกบกพร่องในเรื่องไดนามิก และกำลังขับ 180x2 วัตต์ นั้น ก็เพียงพอสำหรับห้องนั่งเล่นขนาด 25 ตารางเมตรของผม แต่เสียงสะอื้นของ "Banditen-Galopp" บน Musical Fidelity M8xi ยังคงเขย่าโสตประสาทได้มากกว่าอยู่ดี ซึ่งไม่ใช่ข้อเสียเปรียบอะไร เพราะมันมีราคาต่างกันถึงสามเท่า!
คนมักบอกว่าแอมป์ฯคลาส D นั้นดูเย็นชา ซึ่งส่วนมากก็เป็นแบบนั้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตโดยเฉพาะมากกว่าหลักการที่ว่ามา เพราะแอมปลิฟายเออร์เพลงที่ดีและดีที่สุดบางตัวที่ผมได้ทดสอบก็เป็นแอมป์ื Class D
การเปรียบเทียบที่ยุติธรรมระหว่างพาวเวอร์แอมป์ฯที่ให้ความเป็นดนตรี แต่ให้เทสส์แบบไฮเอนด์นั้นหาได้ยากกว่า โดยเฉพาะหากคุณต้องการพลังในการขับลำโพงหนักๆ นอกจาก NAD C298 แล้ว ผมยังนึกถึง Emotiva XPA-DR2 และ NuPrime ST-10 แต่ด้วยความสามารถทางดนตรีและความละเอียดที่บริสุทธิ์ C298 ได้รับชัยชนะนั้นไป
สรุป
C298 ทำให้ผมนึกถึงพาวเวอร์แอมป์ดีๆของ NAD ที่ผมเคยเป็นเจ้าของและใช้ฟังเพลงเมื่อหลายปีมาแล้ว ทรงพลัง ให้เสียงที่ดี ราคาสมเหตุผล ภายใต้รูปลักษณ์ที่แสนจะเรียบง่าย เทคโนโลยีจากประเทศเดนมาร์ก Purifi Eigentakt นี้เป็นโมดูลที่ยอดเยี่ยม ที่ถูกบรรจุในแอมป์ ไฮ-เอนด์อย่าง M33 และ C298 คือรุ่นที่ใกล้เคียงกันในราคาย่อมเยากว่า
หากคุณมีปรีแอมป์ หรือ DAC ที่คุณชื่นชอบและใช้งานอยู่แล้ว นี่คือการจับคู่ที่ดี แต่หากคุณต้องการจับคู่ให้แมชชิ่งกันจริงๆ ผมแนะนำ C658 - และถ้าไม่ติดเรื่องงบประมาณ แนะนำให้เพิ่มเงินอีกหน่อย แล้วข้ามไปที่ M33 ที่ดูหรูหรามาพร้อมภาค MC ในตัวครับ
แปลจาก : www.lbtechreviews.com