3706 จำนวนผู้เข้าชม |
วิธีเลือกแอมป์ฯฟังเพลงแบบง่ายๆ จาก What Hi-Fi?
โดย Becky Roberts เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2022
How to choose and set up a stereo amplifier
ใครๆก็ชอบการติดตั้งแบบเสียบปลั๊กแล้วเล่นได้เลย จริงๆมันมีอะไรมากกว่านั้นเพื่อดึงประสิทธิภาพของในการติดตั้งแอมป์นอกไปจากการเปิดเครื่อง ต่อกับลำโพงและก็เปิดเสียงให้ดังๆ อย่างเช่น คุณจะวางมันไว้ตรงไหนดี เชื่อมต่อยังไงถึงจะดีที่สุด ส่วนไหนที่เราควรอัพเกรด เป็นต้น
ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนกับแอมป์ตัวล่าสุดของคุณ หรือว่าอาจจะยังไม่มีแต่กำลังดูอยู่ว่าแอมป์ตัวไหนดีกับคุณที่สุด เราจะอธิบายตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นกันเลย
Integrated หรือ Pre/Power ดีกว่า?
ถ้าคุณซื้อแอมพลิฟายเออร์ไปแล้วและกำลังดูอยู่ว่าจะเริ่มยังไง ขอให้คุณข้ามไปในส่วนของการเชื่อมต่อระบบได้เลย แต่ถ้าคุณกำลังอ่านบทความนี้ก่อนที่จะเลือกแอมพลิฟายเออร์สองชาแนลที่จะเริ่มชุดฟังเพลงของคุณ คุณก็จะต้องเลือกก่อนว่าจะเอา integrated amp หรือจะเอาแบบแยก pre amp ดี
แบบรุ่นเก่าง่ายที่สุด สะดวก และประหยัดพื้นที่ ตัวพรีและพาวเวอร์อยู่ด้วยกันประหยัดเวลาในการหาแอมพลิฟายมาเข้าชุดกัน
ในทางกลับกัน แอมพลิฟายเออร์แบบแยกนั้น รวมถึงการแยก พรีแอมป์ออกมาด้วย (ปุ่มเลือกและปรับระดับเสียงต่างๆ) ออกมาจากตัวพาวเวอร์แอมป์ จุดประสงค์เพื่อแยกวงจรของของพรีแอมป์ที่มีความละเอียดอ่อนออกจากตัวพาวเวอร์แอมป์ที่อาจก่อให้เกิดเสียงรบกวนได้
การแยกตัว power สองเครื่องนั้นช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงได้ด้วย ตราบใดที่ตัวพรีและพาวเวอร์แอมป์ของคุณจับคู่กันได้ดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสียงที่คุณได้ก็จะดีตามไปด้วย
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเลือก พรีแอมป์และพาวเวอร์ก็คือ ควรจะเลือกแบรนด์เดียวกันจะได้สามารถทำงานด้วยกันได้ดี แต่ถ้าคุณอยากจะเลือกแบบมิกซ์แอนด์แมตช์ ต้องระวังในเรื่องของการจับคู่ วิธีที่จะรู้ว่าจะดีหรือไม่ก็ต้องลองผิดลองถูกเอาถึงจะรู้ แน่นอนว่าเวลาเราพูดถึงการจับคู่ส่วนต่างๆของแอมป์นั้น เราอาจจะรู้โดยใช้เซนส์ของเราในเรื่องความสัมพันธ์ของคลื่นเสียงต่างๆ อย่างเช่นเครื่องเล่นซีดีที่จะออกแนวเสียงกลางๆ ก็ไม่ควรจับคู่กับสเตอริโอแอมพลิฟายที่มีลักษณะคล้ายๆกัน
System matching is important
การจับคู่ระหว่างแอมพลิฟายเออร์ลำโพงนั้นเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ มีอยู่2-3ปัจจัยที่ควรพิจารณาว่าพวกมันสามารถเข้าคู่กันได้ดีเหมือนอย่างชีสกับแครกเกอร์มั้ย ดังต่อไปนี้
เคยงงงวยเวลาเราเจอคำว่า 75 วัตต์ 8 โอห์มกันไหมครับ มาครับเราจะอธิบายให้ฟัง
การที่เราจะจับคู่ลำโพงกับแอมป์นั้นไม่ได้ดูแค่ตัว output เท่านั้น (กำลังขับ – จำนวนวัตต์ที่สามารถส่งไปยังแต่ละช่องสัญญาณเสียง) แต่ค่าอิมพีแดนซ์ก็มีผลเช่นกัน (วัดหน่วยเป็นโอห์ม) และค่าความไว (วัดหน่วยเป็น DB)
ค่าอิมพีแดนซ์คือเป็นค่าที่เหมือนวัดความยากง่ายของลำโพงในการขับเคลื่อนให้แอมป์ทำงาน ตัวเลขที่ต่ำหมายความว่าต้องการกระแสไฟฟ้ามากกว่า และความไวของลำโพง ก็คือการวัดความดังของลำโพง (1 วัตต์และวัดระยะห่างจากลำโพง 1 เมตร)
วิธีมาตรฐานในการวัด output ของแอมพลิฟายเออร์คือการเชื่อมต่อที่ตัวต้านทาน 8 โอห์ม และวัดกำลังไฟฟ้าก่อน ยังไงก็ดีลำโพงมีหลากหลายแบบมากกว่าตัวทดสอบความต้านทานง่ายๆตัวนี้ คุณควรจะระมัดระวังในการตัดสินความทนทานของแอมพลิฟายเออร์จากการพิจารณาที่เลข 8 โอห์ม
แล้วเราจะรวมร่างระบบเสียงสเตอริโอและเสียงเซอร์ราวด์ในระบบเดียวได้ยังไง
มาดูรายละเอียดที่ลึกขึ้นกันต่อไป พลังความแข็งแรงของแอมป์คือการเปรียบเทียบพลังขับของ 8 โอห์ม กับ 4 โอห์ม แอมป์ที่ดีที่สุดคือ output ควรจะสองเท่าต่อค่าอิมพีแดนซ์ครึ่งหนึ่ง แน่นอนว่าส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้แบบนี้ แต่ได้ประมาณนี้หรือใกล้เคียงก็ยิ่งดี
ถึงแม้ว่าคุณอยากจะซื้อแอมป์ที่มีกำลังขับมากที่สุดเท่าที่คุณจะจ่ายได้ แต่สิ่งที่ควรทำกว่าคือซื้อลำโพงที่มีความละเอียดสูงๆดีกว่า เพราะว่ากำลังขับของแอมป์จะต้องเพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อให้เท่ากับความไวของลำโพงที่เพิ่มขึ้น
แม้ตัวเลขต่างๆจะให้ข้อมูลและรายละเอียดแก่คุณได้ประมาณหนึ่ง แต่ตัวทดสอบที่ดีที่สุดว่ามันทำงานร่วมกันดีหรือไม่นั้นก็คือหูของคุณว่าฟังออกมาแล้วมันเป็นอย่างไรมากกว่า
วางไว้ตรงไหนดี?
โอเค ตอนนี้คุณมีจับคู่กันได้ลงตัวแล้ว คำถามต่อไปคือแล้วจะวางไว้ที่ไหนดี
พื้นผิวที่คุณจะนำแอมป์ไปวางนั้นมีผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานของมันเลย แม้ว่าเฟอร์นิเจอร์อิเกียอาจจะไม่ได้อยู่ลำดับท้ายๆที่เราจะแนะนำ (เพราะท้ายสุดจริงๆก็คือวางพื้น) แต่สิ่งที่เราแนะนำมากๆคือคุณควรมีชั้นวางเฉพาะของมัน
เวลาคุณเลือกชั้นวางไม่ควรดูแค่ดีไซน์อย่างเดียว วัสดุที่แตกต่างกันก็ให้คุณสมบัติของเสียงที่ออกมาแตกต่างกันเช่นกัน อยากให้พิจารณาถึงข้อนี้ด้วย
โดยทั่วไปชั้นกระจกจะสะท้อนเสียงไปด้านหน้า ส่วนพื้นผิวไม้จะให้เสียงที่มีความอบอุ่นหรือเป็นเสียงกลมๆไม่แบนมากขึ้น
เรื่องของความร้อนทำงานไปนานๆ ก็จะยิ่งทำให้ความร้อนสูงขึ้น ดังนั้นเราควรจะต้องมีพื้นที่ซัก 2-3 นิ้วห่างจากผนังหรือตัวชั้นวางเพื่อระบายความร้อนจะได้ไม่ร้อนมากเกินไป
การเชื่อมต่อ
ก่อนที่คุณจะหาที่วางนั้น ถ้าจะให้ดีก็ดูก่อนว่า ตัวพาแนลของแอป์มีออพชั่นอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นว่าการเชื่อมต่อว่ามีอะไรบ้าง เสียบลำโพงเพิ่มได้มั้ย หรือการอัพเกรดใดๆได้ในอนาคต
แอมป์มาตรฐานทั่วไปมี RCA input ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกการเชื่อมต่อ เช่นพวกสตรีมเพลง เครื่องเล่นซีดีและอื่นๆ ในบางทีตัว RCA input จะถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับพวก เทิร์นเทเบิลที่เอาไว้เล่นกับสัญญาณต่ำๆและที่ต้องมีการปรับตัวอีควอไลเซอร์เป็นพิเศษสำหรับบางช่องสัญญาณ
นอกจากนี้จะมีตัวสายสัญญาณ XLR 3 พินซึ่งเป็นตัวบาลานซ์เสียงสัญญาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในการทำงานห้องอัด หรือไม่ก็งานในระดับมืออาชีพ การเชื่อมต่อที่มีการบาลานซ์ที่ดีจะช่วยตัดเสียงรบกวนต่างๆได้ดีมากและทำให้ดีเวลาเราอยู่ในที่ๆมีเสียงรบกวนมากๆ หรือต้องมีการเดินสายเคเบิลที่ยาวๆอย่างสิบเมตรขึ้นไป แต่ยังไงก็ตามการบาลานซ์ก็ไม่ได้ช่วยให้เสียงดีขึ้นเสมอไป จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ด้วย
Rega เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีแต่แบบอนาล็อกอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรุ่นที่ได้รางวัลเช่น รุ่น io, Brio, Elex-R และ Elicit-R และก็ไม่นานมากนี้เราได้รับรางวัลแอมป์อนาล็อกสำหรับรุ่น Luxman L-509X ด้วย แต่ยังไงก็ตาม เดี๋ยวนี้ก็จะมีแอมป์ที่มีฟังก์ชั่นการแปลง DAC และตัวดิจิตอล input เพื่อความหลากหลายมากขึ้น
คุณอาจจะคุ้นชินที่จะต้องเจอกับการเชื่อมต่อดิจิตอล input หลายแบบ การเชื่อมต่อด้วยจะส่งสัญญาณดิจิตอลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วไฟเบอร์ออพติค เทียบเท่าเหมือนการเชื่อมต่อแบบ coax นอกจากนี้การเชื่อมต่อแบบ USB ก็มาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดร์ฟ usb, laptops หรือ hard drive ก็เช่นกัน
Marantz PM6007, Cambridge CXA81 และ Moon 240i เป็นตัวอย่างของแอมป์มีการเชื่อมต่อที่ดี คุณสามารถเสียบเครื่องเล่นซีดี สตรีมเมอร์ หรือแล็ปท็อปของคุณเข้ากับแอมป์ผ่านตัว digital input หลายตัวได้ แต่จากประสบการณ์ของเรา ประสิทธิภาพของ integrated DAC อาจมีปัญหาไม่เป็นไปตามคาดหวังได้
ในส่วนของบลูทูธ แอมป์หลายตัวก็มีสิ่งนี้แล้วเช่นกัน เช่นอย่างตัวที่พูดถึงมาแล้ว CXA81 เป็นต้น
ในเรื่องของ output บางครั้งก็จะมีการเพิ่มตัวซัฟวูฟเฟอร์เพื่อเพิ่มพลังเสียงให้กับระบบเสียงได้ด้วย ตัว tape output เป็นแบบสายคงที่ (คือไม่ได้รับผลกระทบจากตัวควบคุมความดังของเสียง) ที่ส่งสัญญาณเต็มสัญญาณออกไปยังตัวชุดเชื่อมต่อ ปกติก็จะเป็นเครื่องเล่นอัดเสียง หรืออุปกรณ์บันทึกเสียงแบบอื่นๆ
สิ่งที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ตัว output ขนาด 3.5 ม.ม. หรือ 6.3 ม.ม. ที่เอาไว้ต่อกับหูฟัง และก็มักจะอยู่บนแผงเชื่อมต่อด้านหน้าของแอมป์ด้วย
แอมป์บางตัวอาจมีขั้วต่อลำโพง 2 ชุดเรียกว่า โซน A และ B หรือ 1 และ 2 ที่จะทำให้คุณสามารถใช้ลำโพงคู่สองตัวพร้อมกันได้ ในห้องคนละห้อง แม้ว่าการทำแบบนี้อาจจะส่งผลต่อการทำงานเล็กน้อยเนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วพลังงานของแอมป์ก็ถูกใช้งานในหลายๆแบบอยู่แล้ว
Bi-amping
เรายังมีตัวเลือกในการต่อแบบ bi-amping ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะต้องใช้แอมพลิฟายเออร์อย่างน้อยสองตัว (ยกเว้นกรณีที่คุณมีเครื่องรับสัญญาณหลายช่อง) และสายเคเบิล
ไอเดียก็คือเราจะถือว่า แอมพลิฟายเออร์แต่ละตัวก็ทำงานสำหรับแต่ละช่องสัญญาณไปแทนที่จะให้ตัวเดียวทำงานทั้งหมด
ดังนั้นการลดจำนวนช่องสัญญาณที่แอมป์จะต้องส่งพลังานก็จะทำให้การเชื่อมต่อคุณง่ายขึ้นและก็ได้เสียงที่ดีขึ้นด้วย
Upgrade path?
การอัพเกรดไม่ได้แปลว่าที่ใช้อยู่จะเป็นของใหม่หรือของเก่า แอมพลิฟายเออร์ของคุณอาจจะมีการอัพเกรดมาอยู่แล้ว
ผู้ผลิตบางรายอย่างเช่น Naim และ Cyrus จะมีช่องการเชื่อมต่อให้สามารถเพิ่มตัว power supply ได้
ถ้าเกิดว่า integrated amp มีช่องสำหรับ pre-amp อยู่แล้ว การใช้งานมันเป็น พรี-แอมป์ตัวเดียวและให้พาวเวอร์แอมป์ตัวอื่นทำงานแทนเป็นอีกวิธีในการอัพเกรดด้วยเช่นกัน
และก็ยังมีตัวเลือกในการอัพเกรดสายเคเบิลของแอมพลิฟายเออร์เช่นกัน คุณควรจะทดลองใช้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
โอเคไม่ว่าระบบเสียงของคุณตอนนี้ยังเป็นอย่างไร หรือว่าคุณแพลนที่จะจัดการมันยังไง การติดตั้งตัวแอมพลิฟายเออร์ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องมีการวางแผนอยู่พอประมาณเลย
หากคุณวางแผนไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่จะจับคู่กับแอมป์ของคุณ ไปจนถึงประเภทของชั้นวางที่คุณจะติดตั้ง และก็มีการพิจารณาถึงตัวเลือกในการอัพเกรดสำหรับอนาคต นั่นเป็นการที่คุณจะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากตัวแอมพลิฟายเออร์ของคุณ