6565 จำนวนผู้เข้าชม |
Bluesound Node (2021)
การตั้งชื่อเครื่องสตรีมมิ่งเพลง หรือ Music Streamer รุ่น 3 ของ Bluesound นั้นเลือกวิธี น้อยแต่มาก นั่นคือกลับไปใช้ชื่อสั้นๆว่า ‘Node’ หลังจากรุ่นสองใช้ชื่อว่า ‘Node 2i’ เป็นที่น่าแปลกใจเหมือนกันที่แบรนด์สัญชาติแคนาดานี้ไม่ได้ตั้งชื่อโดย based on ฟังก์ชั่นและราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง
เหมือนที่ Node ทั้งสองรุ่นออกมาก่อนหน้านี้ในปี 2014 และ 2018 สำหรับปี 2021 Node ก็สร้างความ surprise ให้กับตลาดเครื่องเสียงสตรีมมิงราคาประหยัดที่มาพร้อมกับความทันสมัย ไม่ตกยุค ซึ่งคุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วก่อนที่คุณจะลองใช้งานมันแน่ๆ
Feature
BluOS – platform สตรีมมิงแบบไร้สายของ Bluesound ใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ของ Bluesound ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ ทั้งยังเชื่อมต่อได้กับแบรนด์รุ่นพี่อย่าง NAD และพาร์ทเนอร์แบบ Dali คุณมั่นใจได้เลย ว่าคุณสามารถเชื่อมต่อได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่เปิดเครื่อง NODE - เชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสายเคเบิลอีเทอร์เน็ต หรือเปิดแอพ BluOS ในไอแพด ก็จะเจอ Node เลยแทบจะทันที แล้วก็เชื่อมต่อทันทีเช่นกัน >>> พร้อมจะใช้งานได้เลย
Bluesound Node (2021) ที่ Amazon ราคา $599
เริ่มจากเครือข่ายท้องถิ่น มิวสิคสตรีมมิง หรือสถานีวิทยุต่างๆ (Internet Radio) ก็สามารถเล่นได้ และยังสามารถใช้งานในรูปแบบมัลติรูมสตรีมมิงร่วมกับเครื่องเสียงอื่น ๆ ที่ใช้แพลตฟอร์ม BluOS ได้ด้วย อีกทั้งยังมีปุ่มพรีเซ็ทไว้ให้คุณสามารถเข้าถึงเพลงโปรดได้ง่ายๆ
สำหรับคนที่ไม่ได้มีเพลงเก็บไว้ในเครือข่ายของตัวเอง หรือคนที่ไม่ได้สมัครสมาชิกสตรีมมิงใดๆ ก็ได้สนุกได้จากความไร้สายของ Node ผ่านอุปกรณ์ที่รองรับอย่าง Apple Airplay 2 และ aptX HD Bluetooth (การรับเสียงสองทางนั่นหมายถึงว่าเราสามารถรับไฟล์ผ่านบลูทูธสำหรับเล่นเพลง และสามารถส่งเสียงที่กำลังเล่นอยู่ไปยังหูฟังบลูทูธหรือลำโพงได้ด้วยเช่นกัน)
แอพ BluOS ยังสามารถใช้เป็นตัวควบคุมสำหรับคนที่ไม่ต้องการซื้อรีโมท Bluesound RC1 เสริมได้ (ราคาอยู่ที่ 49 ปอนด์ / 59 ดอลลาร์อเมริกา / 99 ดอลลาร์ออสเตรเลีย) และรองรับการสั่งงานได้ด้วยเสียงผ่าน Alexa หรือ Google Assistant ได้เช่นกัน
นอกจากนี้แอพนี้ยังสามารถใช้งานสลับไปมาระหว่างไร้สายกับแบบธรรมดาได้ด้วย มีขั้วต่อเอาต์พุต 3.5mm สำหรับต่อใช้งานกับหูฟัง และอินพุต HDMI eARC สำหรับเชื่อมต่อกับ TV หรือเครื่องเสียงอื่นๆ และยังรวมถึง RCA, coxial, optical และ ซับวูฟเฟอร์ ขั้วต่อหูฟัง 3.5 จะอยู่ตรงกลางของเครื่องข้างใต้โลโก้ Bluesound
การเชื่อมต่อดิจิทัลรองรับโดย DAC รุ่นใหม่ที่รองรับทั้ง Hi-res 24-bit/192kHz และ MQA ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกของ Tidal ที่สามารถเข้าถึง MQA-powered hi-res Tidal Master ได้ด้วย นอกจากนี้ Bluesound ยังพัฒนา Node รุ่นที่สามนี้ให้เจ๋งยิ่งขึ้นด้วยพลังขับที่มากขึ้นซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญสำหรับเครื่องเล่นแบบนี้
Design
ถ้าพิจารณาว่าเครื่องเล่นนี้สามารถทำงานได้แบบ multi-tasking และต้องใช้ซอฟท์แวร์แล้ว สิ่งสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้คือจะต้องมีแอพฯและแพลตฟอร์มที่เสถียรถึงจะสามารถทำงานได้ดีที่สุด จริงๆแล้วถือว่า NODE ค่อนข้างสะดวก หยิบใช้ง่ายเลยถ้าเกิดว่าเราวางมันไว้ในห้องที่เราสามารถจะเอื้อมไปหยิบมันได้ง่ายๆ
รูปร่างหน้าตาของ NODE ที่ถูกออกแบบมาเทียบได้กับขนาดไวไฟเราเตอร์ หรือหนังสือเล่มหนาเล่มหนึ่ง การออกแบบแบบสไตล์แบบฉบับของ Bluesound มีปุ่มกดระบบสัมผัสอยู่ด้านบน คุณสามารถปรับระดับเสียงได้โดยการเลื่อนตรงแถบเลื่อน หรือจะข้ามเพลงก็ได้ และสามารถตั้งปุ่มเพลงลัดได้โดยแตะจุดเล็กๆและสัญลักษณ์ลูกศร เซ็นเซอร์จะทำงานเวลาที่คุณเพียงเอามือไปแตะมันและก็จะหายไปหลังจากผ่านไป 10 วินาที
Sound
คู่แข่งของ NODE ที่ถือว่าใกล้เคียงกันคือ Audiolab 6000N Play ที่ขึ้นแท่นแทน NODE 2i ในการประกาศรางวัลของปีที่แล้วของ What’s Hi-Fi เมื่อเราทำการทดสอบโดยวางทั้งสองเครื่องไว้ใกล้ๆกัน เราก็รู้สึกว่ามันมีความคล้ายกันค่อนข้างมากและก็หาจุดแตกต่างยากพอสมควร แม้ว่าเครื่องเล่มทั้งสองตัวจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันก็ตาม
Audiolab ให้เสียงที่กว้างกว่า ประณีตและชัดเจนกว่า ในขณะที่ Bluesound ให้เสียงที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา โทนเสียงมีความอุ่นมากกว่า และให้จังหวะที่ฟังไม่รู้เบื่อ
อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีในแบบของ Bluesound มาหลายปี เราฟังผ่าน Burmester 088/911 Mk3 pre/จับคู่ลำโพง ATC SCM50 หรือจะจับคู่กับราคาที่สมน้ำสมเนื้ออย่าง แอมพลิฟายเออร์ Marantz กับ ลำโพง KEF Meta
เราลองทดสอบโดยการเล่นเพลง Einaudi ของ Ludovico Einaudi: Seven Days Walking / Day 1 - Golden Butterfly จากอัลบั้ม Cinema ที่เพิ่งเปิดตัว เสียงเปียโนที่ได้ผ่าน Audiolab นั้นชัดเจนมาก เวทีเสียงกว้าง เราคิดว่า Bluesound จะโชว์พลังได้ดีกว่านี้อีกสักหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เราเล่นแทร็กที่แน่นขึ้น เช่น เพลงของ Mogwai Here We, Here We, Here We Go Forever ที่พอฟังผ่าน Node แล้วฟังดูสับสนวุ่นวายพอควรอยู่
แต่ยังไงก็ตาม Node สามารถเอาชนะจุดแข็งของ Audiolab ได้ เสียงของ Einaudi มีจังหวะจะโคน ให้ความรู้สึกอบอุ่น มีไดนามิคที่กว้างกว่า มันให้รายละเอียดเนื้อหาความเป็นดนตรีที่ฟังดูเป็นธรรมชาติ มีความสด ความสมจริง ซึ่งเป็นเสน่ห์ของเครื่องเล่นนี้ที่ทำให้อยากฟัง
ลองเปลี่ยนมาฟัง Joni Mitchell's River (With French Horns) [Blue Sessions] ในอัลบั้ม 50 Blue (Demo & Outtakes) ครบรอบ 50 ปีของเธอ แม้ว่า Bluesound จะไม่สามารถถ่ายทอดเสียงทุกอย่างที่อยู่หลังดนตรีของ Mitchell (ตามที่ควรจะเป็น) แต่มันก็สามารถทำให้เราดื่มด่ำกับเสียงร้องของเธอและยังรู้สึกได้ถึงเบื้องหลังของการอัดอัลบั้มนี้ด้วย
โอเค เรามาทดสอบต่อกันที่เพลงของ Nas – The message Bluesound ทำให้เรารู้สึกจังหวะที่ชัดเจน บีทแน่น มาพร้อมกับแนวการเล่นกีตาร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เสียงแรพฟังแล้วลื่นไหลไปกับเสียงดนตรี ไดนามิคดี เสียงที่ได้จะรู้สึกสุภาพ ไม่กระแทกกระทั้น
Verdict
Bluesound ได้พัฒนาเสียงที่ฟังดูสนุกสนานแบบนี้มาตั้งแต่แรก ไม่ใช่แค่ NODE แต่รวมไปถึง Powernode ด้วย (POWERNODE = NODE ที่มีแอมป์หรือมีกำลังขับในตัว) และลำโพงไร้สายด้วยเช่นกัน แต่นี่เป็นการนำเสนอการปรับปรุงที่ดีเยี่ยมกว่าของเดิม มันเป็นการก้าวกระโดดสำหรับเครื่องเสียงในช่วงราคาเท่านี้ที่จะไปเทียบเท่ารุ่นราคาระดับกลางอย่าง Cambridge Audio CXN V2 อย่างมีนัยสำคัญ Node รุ่น 3 นี้ถือเป็นการบุกเบิกตลาดเพลงสตรีมมิงราคาย่อมเยาว์ได้อย่างที่แท้จริง
ด้วยราคาเท่านี้มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เหมาะกับการเอ็นเตอร์เทนและคุ้มค่าที่คุณจะมีอยู่ในระบบ Hi-Fi-System ของคุณเลยแหละ ไม่แปลกที่จะได้เป็นผู้ชนะใน Award ของเรา